ภาษีสรรพสามิต รถยนต์ รู้หรือไม่ว่าป้ายสี่เหลี่ยมที่ติดหน้ารถ หรือที่เรียกกันติดปากว่าป้ายวงกลมนั้น ได้มาจากการจ่ายภาษีรถยนต์ ไม่ใช่พ.ร.บ.รถยนต์ แล้วป้ายเล็ก ๆ นี้มีความสำคัญ มีขั้นตอนในการได้มาอย่างไร ต้องไปจ่ายที่ไหนถึงจะได้มา มาศึกษาได้ในบทความนี้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2558 ที่ผ่านมานายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยระหว่างแถลงข่าวร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมถึงความพร้อมในการจัดเก็บภาษีสรรพาสามิตรถยนต์ที่อิงจากการปล่อยมลพิษหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์(CO2)ว่ากระทรวงการคลังกระทรวงอุตสาหกรรมมีความพร้อมที่จะจัดเก็บภาษีสรรสามิตรถยนต์แบบใหม่
ตั้งแต่วันที่1มกราคม2559เป็นต้นไปโดยที่ผ่านมาได้ให้ผู้ประกอบการปรับตัวมาแล้วถึง3ปี ซึ่งการจัดเก็บภาษีแบบใหม่จะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ภาคอุตสาหกรรมหันมาผลิตรถยนต์ที่คำนึงถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศไทยมากขึ้นมีผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยที่ไม่ทราบว่าสินค้าที่ผลิตหรือนำเข้า หรือการให้บริการเข้าข่ายต้องเสียภาษีสรรพสามิต จึงไม่ได้รวมคำนวณภาษีสรรพสามิตไว้ในต้นทุนสินค้าหรือในกรณีนำเข้าสินค้าไม่ทราบว่าสินค้าที่นำเข้าต้องเสียภาษีสรรพสามิต ทำให้ต้องเสียค่าปรับหรือเสียเวลาในการเคลียร์สินค้านั้นๆผ่านพิธีการของกรมศุลกากร ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักว่าภาษีสรรพสามิตคืออะไร
ภาษีสรรพสามิต รถยนต์ ภาษีสรรพสามิตคือคืออะไร
ภาษีสรรพสามิต รถยนต์ ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท โดยมีกรมสรรพสามิตเป็นหน่วยงานที่ดูแลการจัดเก็บ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริโภครับภาระภาษีสูงกว่าปกติ สินค้าและบริการมีลักษณะฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์พิเศษจากภาครัฐ หรือเป็นสินค้าที่บริโภคแล้วมีผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้บริการแก่ผู้บริโภค หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ไม่ต่อภาษีรถยนต์ ระวังถูกปรับ หรือระงับการใช้รถ
การต่อภาษีรถยนต์ เป็นการจ่ายภาษีประเภทหนึ่งสำหรับผู้ใช้รถ เพื่อภาครัฐจะนำเงินในส่วนนี้ไปใช้เพื่อสนับสนุนงานด้านคมนาคมต่างๆ เช่น นำไปปรับปรุงถนนหนทาง หรือนำไปพัฒนาระบบการคมนาคมอื่น ๆ ให้ดียิ่งขึ้น แต่ถ้าไม่ต่อภาษีรถยนต์อาจมีโทษตามระยะเวลาที่ขาดต่อไป เช่น
หากขาดต่อ 1-3 ปี มีโอกาสจะโดนตำรวจโบก เสียค่าปรับ และยังต้องเสียค่าปรับกับกรมขนส่ง 1% ต่อเดือน
หากขาดต่อเกิน 3 ปี รถจะถูกระงับทะเบียน ต้องนำรถไปทำเรื่องเพื่อจดทะเบียนภาษีรถยนต์ใหม่ และอาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าตรวจสภาพรถ หรือค่าป้ายใหม่
ภาษีรถยนต์ VS พ.ร.บ.รถยนต์ ต่างกันอย่างไร
ทราบหรือไม่ว่า “ไปต่อทะเบียน” ที่หลายคนคุ้นหู หมายถึงอะไร เป็นการไปต่อภาษีรถยนต์ หรือต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ทั้งสองอย่างนี้เหมือกันหรือไม่ปกติคนส่วนใหญ่นิยมทำทั้งสองอย่างนี้ไปพร้อมกัน แต่จริง ๆ แล้วการไปต่อทะเบียน หมายถึงการต่อภาษีรถยนต์ ซึ่งแตกต่างกับการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ อย่างสิ้นเชิง มีเพียงสิ่งเดียวที่เหมือนกัน คือ ต้องจ่ายทุกปีและถ้าไม่ต่อก็จะมีโทษตามกฎหมายสำหรับภาษีรถยนต์ คือ ค่าใช้จ่ายที่เจ้าของรถทุกคนต้องดำเนินการชำระทุกปี เพื่อนำเงินไปดูแลรักษาระบบคมนาคมและภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการที่จะจ่ายภาษี ต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ให้เรียบร้อยก่อน เพื่อนำเอกสาร พ.ร.บ. รถยนต์ ไปต่อภาษี ส่วนระยะเวลาที่ผู้ขับขี่ต้องต่อภาษี สามารถเช็กได้ง่าย ๆ จากวันหมดอายุที่เขียนไว้บนป้ายภาษีหรือที่เรียกว่าป้ายวงกลมหน้ารถได้เลย
รถแต่ละประเภทก็จะมีอัตราค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไป โดยกรมการขนส่งทางบกจัดเก็บภาษีในอัตราต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ รถยนต์ พ.ศ. 2522 เช่น รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จัดเก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี) และรถยนต์ประเภทอื่นจัดเก็บเป็นรายคัน เป็นต้น
1. จัดเก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน
600 ซีซีแรก ซีซีละ 0.50 บาท
601 – 1,800 ซีซี ซีซีละ 1.50 บาท
เกิน 1,800 ซีซี ซีซีละ 4.00 บาท
รถของนิติบุคคลที่มิได้เป็นผู้ให้เช่าซื้อ
จ่ายภาษี 2 เท่า
รถที่จดทะเบียนมาแล้ว 5 ปี
จะได้รับการลดหย่อนภาษีประจำปีในปีต่อ ๆ ไป ดังนี้
ปีที่ 6 ร้อยละ 10
ปีที่ 7 ร้อยละ 20
ปีที่ 8 ร้อยละ 30
ปีที่ 9 ร้อยละ 40
ปีที่ 10 ขึ้นไป ร้อยละ 50
2. จัดเก็บเป็นรายคัน
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท
รถจักรยานยนต์สาธารณะ คันละ 100 บาท
รถพ่วงข้างจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ
50 บาท
รถพ่วงชนิดอื่น คันละ 100 บาท
รถบดถนน คันละ 200 บาท
รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร คันละ 50 บาท
3. จัดเก็บตามน้ำหนัก
เช็กอัตราตามน้ำหนักและประเภทรถได้ ที่นี่
4. รถพลังงานไฟฟ้า
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ให้เก็บภาษีตามน้ำหนักของรถในอัตรารถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน
รถพลังงานไฟฟ้าอื่น ๆ ให้เก็บภาษีครึ่งหนึ่งของการเก็บรายคันและตามน้ำหนัก
ต่อภาษีรถยนต์ได้เมื่อไหร่
ภาษีสรรพสามิต รถยนต์ การต่อภาษีรถยนต์สามารถทำได้ตลอดปี ขึ้นอยู่กับวันหมดอายุของป้ายวงกลมที่ระบุไว้หน้ารถ และสามารถต่อล่วงหน้าได้มากถึง 90 วันก่อนครบกำหนดหากผู้ขับขี่กลัวว่าจะลืมต่อภาษีรถยนต์ สามารถดาวน์โหลด แอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” เพื่อรับการแจ้งเตือนก่อนครบกำหนดจ่ายภาษี เพราะแอปฯ จะตั้งค่าเตือนผู้ใช้บริการถึง 3 รอบ คือ
ก่อนหมดอายุ 3 เดือน (90 วัน)
ก่อนหมดอายุ 1 เดือน (30 วัน)
ณ วันที่หมดอายุ (แจ้งเตือนครั้งสุดท้าย)